วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ขอให้เพิ่อนๆ ครู ญาติและผู้มีเกียรติทั้งหลายร่วมประเมินผลงาน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน

O-Net



คำอธิบาย

โปรตีน (อังกฤษ: protein) เป็นสารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีโครงสร้างซับซ้อนและมีมวลโมเลกุลมาก โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ โปรตีนมีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุก ชนิด รวมทั้งไวรัสด้วย โปรตีนในอาหารนั้นเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ให้แก่สิ่งมีชีวิตแต่ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนเหล่านั้นได้เอง

โปรตีน เป็นหนึ่งในมหโมเลกุล (macromolecules) เช่นเดียวกันกับโพลีแซคาไรด์ (คาร์โบไฮเดรต) และกรดนิวคลีอิก (สารพันธุกรรม) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โปรตีนถูกค้นพบครั้งแรกโดย Jöns Jacob Berzelius ในปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838)
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/โปรตีน
คำตอบ ข้อ 4









คำอธิบาย
ไอโอดีน เป็นธาตุในหมู่ 7 ของตารางธาตุ มีน้ำหนักอะตอม 126.9 มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ พบใน หิน ดิน น้ำ น้ำทะเล อากาศ และสิ่งมีชีวิต มีปริมาณมากน้อยที่แตกต่างกัน อาหารทะเลจะมีไอโอดีนสูงกว่าแหล่งอื่น ในธรรมชาติ มักพบในรูปเกลือ ไอโอเดต ( KIO3 ) และในรูปไอโอไดด์ หรือเป็นสารประกอบอินทรีย์ ในสิ่งมีชีวิต เช่น ในเลือด เนื้อเยื่อ น้ำนม เหงื่อ และปัสสาวะ

ไอโอดีนถูกนำมาใช้ครั้งแรกในการฆ่าเชื้อโรคในรูป ของทิงเจอร์ ( Tincture of iodine ) ร่างกายของคนเราใช้ไอโอดีนในรูป ไอโอไดด์ เพื่อสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ โดยไอโอไดด์ถูกออกซิไดซ์แล้วสร้างพันธะกับไทโรโกลบูลิน (Thyroglobulin ) ได้ไทโรซิน (Thyrosine ,T3 ) และไทรอกซิน ( Thyroxine ,T4) ดังรูป

ไทรอยด์ ฮอร์โมน เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะไปช่วยควบคุมการเผาผลาญสารอาหารเพื่อให้พลังงานแก่ ร่างกาย ช่วยการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทอัตโนมัติ
ถ้า ขาดสารไอโอดีน จะทำให้หญิงมีครรภ์แท้งบุตร เด็กคลอดออกมาไม่สมประกอบ พัฒนาการช้า ปัญญาอ่อน ระบบประสาทไม่ดี ทำให้เป็นง่อย หูหนวกเป็นใบ้ แคระแกร็น ในผู้ใหญ่ถ้าขาดไอโอดีน เป็นเวลานานจะเป็นโรคเอ๋อ และคอหอยพอก ( Goiter ; hypothyroidism )
ถ้ารับประทานเกินประมาณวันละ 2,000 ส่วนในล้านส่วนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดโรคคอหอยพอกเป็นพิษ( Hyperthyroidism ; Grave' s disease ) มีอาการเหนื่อยง่าย ผอมผิดปกติ บริโภคโดยตรงในครั้งเดียวประมาณ 2 กรัม ทำให้ปวดท้อง คลื่นเหียน อาเจียน ท้องร่วง เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ปอดอักเสบ ไตวาย หมดสติ และตาย ไอที่ความเข้มข้นเกิน 0.1 ส่วนในล้านส่วน เมื่อสัมผัสเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการระคายเคืองตาและระบบหายใจ ( อุดมเกียรติ , วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์:2539 )
WHO / ICCIDD / UNICEF ( 1993 ) แนะนำปริมาณไอโอดีนที่ร่างกายควรได้รับคือ 150 ไมโครกรัม /คน / วัน ในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีกวันละ 25 และ 50 ไมโครกรัม ตามลำดับ ทารกอายุ 0-6 เดือนควรได้รับ 40 ไมโครกรัม / วัน ( องค์การอนามัยโลก )
ประเทศไทยพบปัญหาประชากรเป็นโรคขาดสารไอโอดีนมาก ( Iodine deficiency disorders, IDD ) แถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่ห่างไกลทะเล ปัจจุบัน มีการส่งเสริมให้บริโภคสาหร่ายทะเล คุกกี้ ขนมอบกรอบ ผสมสาหร่ายทะเลผมนาง มีการเสริมโพแทสเซียมไอโอไดด์ ( KI ) และโพแทสเซียมไอโอเดต ( KIO3 ) ในอาหาร น้ำ เครื่องดื่ม และ เกลือบริโภค เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน
ที่มา http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/IODINE.HTM
คำตอบ ข้อ 1






คำอธิบาย
1. กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่พันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนกับคาร์บอนยึดเหนี่ยวด้วยพันธะ เดี่ยวทั้งหมด มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2nO2 หรือ CnH2n+1COOH หรือเขียนสูตรได้เป็น CH3(CH2)nCOOH เช่น กรดไขมันอิ่มตัวที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอน 18 อะตอม จะมีสูตรทั่วไปเป็น C18H36O2 ซึ่งเขียนสูตรดังนี้



CH3(CH2)16COOH หรือ C17H35COOH

กรดไขมันอิ่มตัวที่พบมากที่สุด ได้แก่ กรดปาล์มิติก (palmitic acid) และกรดสเตียริก (stearic acid)

2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่พันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนกับคาร์บอนยึดเหนี่ยวด้วยพันธะคู่ อย่างน้อย 1 พันธะ ซึ่งมีจำนวนอะตอมคาร์บอนน้อยกว่ากรดไขมันอิ่มตัว 2 อะตอม มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2n–2O2 หรือ CnH2n–1COOH หรือเขียนสูตรได้เป็น CH3(CH2)yCH=CH(CH2)xCOOH เช่น กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอน 18 อะตอม มีพันธะคู่ที่คาร์บอนตำแหน่ง 9–10 จะมีสูตรทั่วไปเป็น C18H34O2 ซึ่งเขียนสูตรดังนี้


CH3(CH2)7CH=CH(CH2)7COOH หรือ C17H33COOH



กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากที่สุด ได้แก่ กรดโอเลอิก (oleic acid) และกรดไลโนเลอิก (linoleic acid)

ไขมัน และน้ำมันที่ได้จากสัตว์และพืชประกอบด้วยของผสมของกรดไขมันหลายชนิด ของผสมที่มีร้อยละของกรดไขมันอิ่มตัวสูงจะเป็นของแข็ง ก็คือเป็นไขมัน เช่น ไขวัว แต่ถ้ามีร้อยละของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงก็จะเป็นน้ำมัน เช่น น้ำมันพืช
ที่มา http://www.promma.ac.th/chemistry/boonrawd_site/kind_of_fattyacid.htm
คำตอบ ข้อ 4





คำอธิบาย
กรด อะมิโน (อังกฤษ: amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ใน สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha animo acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอน อะตอมเดียวกัน เรียกว่า α-คาร์บอน

เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเปปไทด์
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/กรดอà%%20B8°à¸¡à¸´à¹‚น
คำตอบ ข้อ 3





คำอธิบาย
โครโมโซม (chromosome) ประกอบด้วยสารประกอบชีวภาพ (biological compound) 2 ชนิด คือ โปรตีนฮีสโตน และกรดนิวคลีอิกที่มีชื่อว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA

เมื่อโปรตีนอยู่รวมกับกรด นิวคลีอิก เราเรียกว่า นิวคลีโอโปรตีน กรดนิวคลีอิกมี 2 ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิกหรือ DNA และกรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ RNA หน่วยโครงสร้างย่อยของกรดนิวคลีอิก คือ มอโนนิวคลีโอไทด์ (mononucleotide)

มอโนนิวคลีโอไทด์หลายๆหน่วยมาต่อกันเป็นสายยาวของ พอลินิวคลีโอไทด์ (polynucleotide) ด้วยพันธะ3',5'-ฟอสโฟไดเอสเตอร์ (3',5'-phosphodiester bond) สายยาวของพอลินิวคลีโอไทด์ไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขาจึงเป็น linear polymer และ unbranched polymer
ที่มา http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/veterin/vet69/NUCLEIC_DREAMMX/S-01.htm
คำตอบ ข้อ 2

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Links

เอสเทอร์
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/ester.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C



ลิพิด
http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/pansre002/section3_p01.html
http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/biochem_web/Lipid.htm



ฮอร์โมน
http://www.bs.ac.th/lab2000/web_bio/hor.htm
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%99



น้ำมันปาล์ม
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1



น้ำมันถั่วเหลือง
http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/



น้ำมันมะกอก
http://www.rspg.or.th/experimental_project/olive/olive15.htm



จุดหลอมเหลว
http://th.wikipedia.org/wiki/จุดหลอมเหลว
http://www.promma.ac.th/e-learn/start_melt-boiling1.html
โซดาไฟ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F
http://www.vinythai.co.th/ourchemicalproducts/causticsoda/0,,1955-8-0,00.htm
http://i.ibluewind.com/2007/03/aoa/



เอสเทอร์
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/ester.html
http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem51/chem51_10/page12.html


กรดคาร์บอกซิลิก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81
http://nongaewlovely2534.blogspot.com/
http://www.rbru.ac.th/courseware/science/4021107/lesson7.pdf



แอนติบอดี
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5
http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/bsp_5_2546_anti-body.pdf
http://202.28.95.5/11Department/micro/public_html/TeachingAid/Suwin/Ab.pdf



วิตามินดี
http://www.thaihealth.or.th/node/13870
http://health.kapook.com/view6693.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5
เฮกเซน
http://th.wikipedia.org/wiki/เฮกเซน



กรดไขมัน
http://th.wikipedia.org/wiki/กรดไขมันอิ่มตัว
http://th.wikipedia.org/wiki/กรดไขมัน


พันธะเคมีกรดไขมัน
http://www.oocities.com/rujida_jan/bio.htm
http://th.wikipedia.org/wiki/สารชีวโมเลกุล#.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.94.E0.B9.84.E0.B8.82.E0.B8.A1.E0.B8.B1.E0.B8.99
สารชีวโมเลกุล

1. http://www.proprofs.com/quiz-school/story.php?title=sasasasa_20
2. http://school.obec.go.th/mclschool/6.2.2/L2.htm
3. http://thaigoodview.com/node/21065
4. http://202.44.68.33/library/exam/intro/class4.htm
5. http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/science/scienceteachers/nittaya/ex/biochemtest.html